วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

พลิกโฉมความปลอดภัย


Automated Security Control (ASC) พลิกโฉมความปลอดภัยระบบเครือข่ายภายในองค์กร

ปัจจุบันนี้ความปลอดภัยบนระบบเครือข่ายขององค์กรต่างๆ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างราบรื่น เนื่องจากในการดำเนินธุรกิจทุกวันนี้ ระบบเครือข่ายมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการทำให้พนักงานแต่ละคนสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการโจมตีต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ต่างส่งผลให้การทำงานของพนักงานในระบบเครือข่ายต้องหยุดชะงักลง หรือในกรณีที่เลวร้ายมากๆ องค์กรอาจสูญเสียข้อมูลสำคัญ หรือการซื้อขายระหว่างองค์กรกับลูกค้าหรือคู่ค้าอาจเกิดความผิดพลาดได้ เทคโนโลยีต่างๆ จึงถูกสร้างขึ้นมามากมายเพื่อป้องกันเหตุร้ายเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น Next Generation Firewall, Next Generation IPS, NAC, Network Monitoring, Endpoint Control, Anti-virus, Proxy รวมถึงระบบ SIEM และ Log ที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบเครือข่าย สำหรับให้ผู้ดูแลระบบได้ติดตามเฝ้าระวังภัยต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระบบเครือข่ายได้
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบเครือข่าย กว่า 90% นั้นเกิดขึ้นที่เครื่องลูกข่าย (Client Machine) ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีระบบเครือข่ายอย่างไม่ตั้งใจอันเนื่องมาจาก Virus และ Malware, การโจมตีระบบเครือข่ายอย่างตั้งใจโดยฝีมือของ Hacker, การเข้าใช้งานของผู้ใช้งานภายนอกองค์กรเช่น Guest และ Contractor, การนำอุปกรณ์ส่วนตัวต่างๆ มาใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น iPhone, iPad หรือ Android ซึ่งปัญหาทั้งหมดนี้ไม่สามารถถูกตรวจจับและแก้ไขได้จากเทคโนโลยี Security ที่มีในปัจจุบัน ที่มักจะทำการตรวจสอบความปลอดภัยในการเข้าถึงเครื่องแม่ข่าย (Server) ต่างๆ หรือใช้งาน Internet เท่านั้น และจะสร้างงานให้กับผู้ดูแลระบบในการแก้ไขปัญหาอย่างไม่รู้จักจบสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการอัพเดต Security Patch ต่างๆ ให้กับเครื่องของผู้ใช้งานเพื่อลดอัตราการเกิดปัญหาลง, การค้นหาว่า Virus และ Worm ทำการโจมตีจากเครื่องไหน, การค้นหาหลักฐานว่าผู้ที่กระทำผิดคือใคร, การจัดการกับการยืนยันตัวตนของผู้ใช้งานภายนอกองค์กร รวมถึงการจัดการจำกัดสิทธิ์การนำอุปกรณ์ภายนอกมาใช้ภายในองค์กร ทำให้ผู้ดูแลระบบไม่มีเวลามากพอสำหรับการทำงานอื่นๆ อีกเลย
ด้วยเหตุนี้ Automated Security Control หรือที่เรียกย่อกันว่า ASC จึงเข้ามามีบทบาทในระบบเครือข่ายระยะหลังเป็นอย่างมากในทุกประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศที่ใส่ใจทางด้านความปลอดภัยและความลื่นไหลในการทำงานของพนักงานในระบบเครือข่าย ตัวอย่างในเอเชียนั้นได้แก่ ญี่ปุ่น, อินเดีย และเกาหลี ซึ่งมีการใช้ระบบ IT ในการดำเนินธุรกิจกันเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ความปลอดภัยบนเครื่องลูกข่ายทั้งหมดนั้นมีความสำคัญไม่แพ้กับความปลอดภัยของเครื่องแม่ข่ายเลยทีเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น