วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

การโจมตีแบบพาสซีพ (passive attack)

แครกเกอร์อาจไม่จำเป็นต้องใช้วิธีเจาะเข้าไปยังเครื่องปลายทางโดยตรง หากแต่ติดตั้งโปรแกรมตรวจจับแพ็กเกต (packet sniffing) ไว้ในที่ใดที่หนึ่ง(หรือที่รูจักกันดีในชื่อของสนิฟเฟอร์) เมื่อมีการเชื่อมขอใช้บริการไปยังเซิร์ฟเวอร์อื่น ชื่อบัญชีและรหัสผ่านที่ป้อนผ่านแป้นพิมพ์จะถูกบันทึกเก็บไว้และรายงานไปยังแครกเกอร์เนื่องจากข้อมูลที่วิ่งอยู่ในเครือข่ายนั้นมักเป็นข้อมูลดิบที่ไม่มีการเข้ารหัสลับ แครกเกอร์สามารถจะดักจับรหัสผ่านของทุกคนที่เข้าใช้งานระบบได้ไม่เว้นแม้แต่ผู้ดูแลระบบเองไม่ว่าผู้ใช้ใดจะเปลี่ยนรหัสผ่านไปกี่ครั้งก็ตาม แครกเกอร์ก็จะได้รหัสใหม่นั้นทุกครั้ง เทคนิคของการใช้สนิฟเฟอร์จำเป็นต้องใช้ความรู้ขั้นก้าวหน้าขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง โดยปกติแล้วการตรวจหาว่าเซิร์ฟเวอร์มีสนิฟเฟอร์ซ่อนอยู่หรือไม่อาจทำได้โดยไม่ยากนัก แต่แครกเกอร์ที่เชี่ยวชาญมักวางหมากขั้นที่สองโดยการเปลี่ยนแปลงโปรแกรมตรวจสอบเพื่อไม่ให้รายงานผลว่ามีสนิฟเฟอร์ซ่อนอยู่ วิธีการป้องกันสนิฟเฟอร์อีกรูปแบบหนึ่งก็คือการใช้เซลล์ที่ผ่านการเข้ารหัสลับทำให้ไม่สามารถนำดูข้อมูลดิบได้

เดาสุ่มทุกทาง
ด่านสำคัญในการเข้าสู่ยูนิกซ์คือรหัสผ่านซึ่งเก็บอยู่ใจแฟ้ม /etc/passwd รหัสผ่านในแฟ้มนี้จะผ่านการเข้ารหัสลับทำให้ไม่ทราบถึงรหัสต้นฉบับได้ แต่แฟ้ม /etc/psswd ไม่ได้เป็นแฟ้มลับ ในทางตรงกันข้ามกลับเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ทุกคนเปิดอ่านได้ แครกเกอร์ซึ่งได้แฟ้มรหัสผ่านจะนำแฟ้มไปผ่านโปรแกรมวิเคราะห์หารหัส โดยตัวโปรแกรมจะสร้างรหัสต้นฉบับขึ้นมาจากดิคชันนารีที่มีอยู่ในระบบ (เช่น ในยูนิกซ์คือ /usr/dict แล้วเข้ารหัสเพื่อนำผลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับรหัสใน /etc/passwd โปรแกรมแกะรหัสผ่านเป็นโปรแกรมเขียนได้ง่ายต้นฉบับโปรแกรมภาษาซีอาจมีความยาวเพียง 60-70 บรรทัด อีกทั้งยังมีโปรแกรมสำเร็จที่เผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว เช่น crack (ftp://ftp.cert.opg/pub/tools/crack) crack สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ให้ดูแลระบบใช้วิเคราะห์หาว่าผู้ใช้รายใดตั้งรหัสผ่านง่ายเกินไป แต่ก็มีผู้นำไปใช้ผิดวัตถุประสงค ์ หนทางที่ป้องกันได้ส่วนหนึ่งก็คือผู้ใช้ทุกคนจะต้องเรียนรู้หลักการและตั้งรหัสผ่านที่คาดเดาได้ยาก ยูนิกซ์ในระบบ System V จะใช้วิธีแยกเอาส่วนของรหัสผ่านไปเก็บไว้ในแฟ้มต่างหากอีกแฟ้มหนึ่งที่ไม่อนุญาตให้ผู้ใช้ทั่วไปอ่านได้ กรรมวิธีแบบนี้เรียกว่าระบบ "shadow password"
การป้องกันและระวังภัย
ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์หลากหลายที่ใช้เป็นเครื่องมือรักษาความปลอดภัยในระบบ ตัวอย่างวอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัย เบื้องต้นได้กล่าวไปในหัวข้อที่แล้ว ส่วนซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งเป้นระบบรักษาความปลอดภัยที่กำลังเริ่มใช้อย่างแพร่หลายได้แก่ระบบไฟร์วอลล์ (Firewall) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ทำหน้าที่เสมือนกับกำแพงกันไฟไม่ให้ลุกลามขยายตัวหากมีไฟไหม้เกิดขึ้น ไฟร์วอลล์จะอาศัยคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเป็นด่านเข้าออกเครือข่ายและเป็นเสมือนกำแพงกันไฟ และมีซอฟต์แวร์ที่ผู้ดูแลระบบจะติดตั้ง และกำหนดรูปแบบการอนุญาตให้เข้าใช้เครือข่าย อินเทอร์เน็ตมีหน่วยงาน CERT (Computer Emergency Response Team) ทำหน้าที่เป็นเสมือน "ตำรวจอินเทอร์เน็ต" คอยดูแลความปลอดภัย ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก อย่างไรก็ตาม หน่วยงาน CERT ไม่ได้มีอำนาจในการจัดการหรือจับกุมแครกเกอร์ หากเพียงแต่คอยทำหน้าที่เตือนและช่วยเหลือ ตลอดจนแจ้งข่าวเมื่อพบปัญหาด้านความปลอดภัยในระบบเพื่อให้ผู้ดูแลระบบสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที CERT จะประกาศข่าวเตือนภายใต้หัวข้อข่าว Comp.securily.announce เป็นประจำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น